สาระน่ารู้
ทำไมฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ถึงทำวัตต์ได้แค่นี้ เพราะอะไร zappelec มีคำตอบ
ทุกคนสงสัยหรือไม่ว่าทำไม ฮีตเตอร์ (heater) ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ถึงทำวัตต์ได้แค่นี้เกิดจากสาเหตุใดวันนี้ Zappelec เรามีคำตอบก่อนอื่นเลยเราต้องไปทำความรู้จักกันว่าฮีตเตอร์คืออะไร รวมไปถึงข้อแนะนำในการใช้งานด้วย ถ้าอยากรู้เราไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย สาระความรู้ดีๆ ในวันนี้มีประโยชน์แน่นอน
ฮีตเตอร์คืออะไร ?
ฮีตเตอร์ คือ เครื่องกำเนิดความร้อนหรือเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อน โดยมีการเปลี่ยนพลังงานกระแสไฟฟ้าให้กลายเป็นพลังงานความร้อน มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าแรงดันให้ไหลผ่านไปยังตัวนำ ทำให้ลวดเกิดความร้อนขึ้น ฮีตเตอร์ความร้อน
แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น Hot Runner Spring, Hero Spiral , Immersion Heaters, Finned Heater, Tubular Heater, Band Heater, Nozzel ฯลฯ ฮีตเตอร์ทําความร้อนถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น ใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในกระบวนการผลิตอาหาร การอบสี การฉีดขึ้นรูปพลาสติก การซีลซองห่อขนม รวมไปถึงการอบยา อบเมล็ดพันธุ์พืช งานอบเซรามิก เป็นต้น
สำหรับข้อแนะนำที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ มีดังนี้
- การจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์ต้องตรงตามค่าแรงดันที่มีการระบุไว้
- หากชุดฮิตเตอร์มีเส้นมากกว่า 1 เส้นต้องตรวจสอบการต่อขั้วไฟหรือการต่อสวิทซ์ให้ถูกต้อง
- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสะพานไฟ เช่น การเปลี่ยนจากต่อแบบสตาร์ไปเป็นการต่อแบบเดลต้าฮีตเตออาจทำงานเกินขีดจำกัดของตัวเอง
- ฮีตเตอร์ชนิดต่างๆ เหมาะกับการใช้งานในสภาวะที่แตกต่างกัน เช่น ฮีตเตอร์บางชนิดควรใช้ในอากาศบางชนิดใช้ในของเหลว ไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งาน
- กรณีที่มีตัวควบคุมอุณหภูมิต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพการใช้งานปกติเพราะหากตัวควบคุมอุณหภูมิเสียอาจส่งผลให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักเกินขีดจำกัดได้
- เมื่อฮีตเตอร์มีคราบสกปรกหรือตะกรันเกาะอาจทำให้ความร้อนถ่ายเทออกจากฮิตเตอร์ได้ไม่ดี ทำให้เกิดความร้อนสะสมที่จุดนั้นส่งผลทำให้ฮิตเตอร์ได้รับความเสียหายได้ เช่น มีรอยร้าว หรือแตกปริ
สาเหตุที่ฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ทำวัตต์ได้แค่นี้
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมฮิตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ทำวัตต์ได้แค่นี้ หากมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ไม่ดี ต้องอธิบายว่า โดยปกติในกระบวนการผลิตนั้นจะต้องคำนึงถึงความหนาแน่นของวัตต์ (Watt Density) ซึ่งหมายถึงการถ่ายเทความร้อนหรือปริมาณความร้อนวัตต์ต่อตารางนิ้ว (W/in²) หรือจำนวนวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร (W/cm²) ของพื้นผิวที่ให้ความร้อน
ความสัมพันธ์ระหว่าง
W = watt
π = pi (3.14)
D = diameter
HL = Heated Length
บริษัทที่ผลิตฮิตเตอร์ใช้หลักเกณฑ์นี้ในการผลิตเช่นเดียวกัน มีการคำนวณความหนาแน่นของวัตต์ รวมถึงยังมีการทดสอบความเหมาะสมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นฮีตเตอร์แท่ง ฮีตเตอร์แผ่น ฯลฯ อย่างไรก็ตามเช่น Tubular Heater หรือ ฮีตเตอร์แบบท่อกลม จะมีความหนาแน่นของวัตต์ 8-10 W/cm² ดังนั้นไม่ว่าฮิตเตอร์ท่อกลมจะมีความยาวเท่าไหร่ก็ตาม ต้องผลิตให้มีความหนาแน่นไม่เกิน 10 W/cm² ในขณะเดียวกันต้องไม่น้อยกว่า 8 W/cm² ไม่อย่างนั้นจะส่งผลให้เวลาใช้งานฮีตเตอร์ได้รับความเสียหาย
สรุป
โดยปกติฮีตเตอร์ในแต่ละชนิดจะมีค่าความหนาแน่นของวัตต์ต่างกันออกไป การผลิตฮีตเตอร์อยู่ในช่วงความหนาแน่นที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิตว่าจะผลิตให้เหมาะสมได้มากน้อยเพียงใด แล้วความหนาแน่นของวัตต์นี้เอง ทำให้เราเห็นว่า บางกรณีฮีตเตอร์ไม่สามารถผลิตให้วัตต์สูงไปหรือน้อยไปกว่าที่ต้องการได้